เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม




   การพัฒนาด้านเศรษฐกิจด้วยนโยบายเปลี่ยนทรัพยากรใต้ดินเป็นเงินก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคมทั้งระยะสั้นและระยะยาว ในการออกประทานบัตรทำเหมืองแร่ให้เอกชน ประกอบกิจการได้อย่างแทบไม่มีข้อจำกัดของรัฐ ได้สร้างความทุกข์เดือดร้อนทั้งชีวิตและสุขภาพแก่ประชาชน ทำลายแหล่งผลิตอาหาร ก่อให้เกิดมลภาวะในสิ่งแวดล้อมตลอดจนสร้างความขัดแย้งแตกแยกในสังคมอย่างรุนแรงในหลายพื้นที่ ขณะที่การพัฒนาเศรษฐกิจดังกล่าวนั้นคืนผลประโยชน์กลับสู่รัฐอย่างไม่คุ้มค่า เมื่อเทียบกับความสูญเสียทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น การผลิตแร่ทั้งประเทศกว่าหนึ่งพันเหมืองในปี 2556 มีมูลค่าราวหกหมื่นล้านบาท แต่มีรายได้ค่าภาคหลวงเข้ารัฐเฉลี่ยน้อยกว่าสามพันล้านบาท หรือราวร้อยละห้าของมูลค่าแร่ ซึ่งไม่ถึงร้อยละหนึ่งของจีดีพี แต่สังคมกลับต้องแลกกับการสูญเสียภูเขา และต้นไม้อันเป็นฐานทรัพยากรสำคัญของประเทศที่เหลืออยู่น้อยเต็มที ในจำนวนแร่ที่ผลิตได้ยังมีแร่ทองคำและเงินที่มีน้ำหนักสุทธิราวสามสิบหกตันมูลค่ากว่าหกพันล้านบาท
 
   กลุ่มคนพลเมืองเหล่านี้ได้ลุกขึ้นมาเพื่อปกป้องสิทธิการอาศัยอยู่กินอย่างปลอดภัยและมีสุขบนพื้นแผ่นดินของตนเอง จึงเป็นตัวอย่างการต่อสู้เพื่ออาศัยอยู่บนแผ่นดินตัวเองอย่างสันติ โดยยึดหลักการและเหตุผลเป็นที่ตั้งในการต่อสู้ จึงสมควรประกาศรางวัล SVN AWARD ภาคสังคมดีเด่นประจำปี 2557 เพื่อยกย่องเครือข่ายเฝ้าระวังและรับผลกระทบจากการทำเหมืองทองคำ 5 จังหวัด พิจิตร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สระบุรี ลพบุรี